ครบรอบ 5 ปี การหายตัวไปของ ‘สมบัด สมพอน’

ประชาไท: 09 ธันวาคม 2017

5 ปีผ่านไปหลังจากคดีลักพาตัวอื้อฉาว ที่เจ้าหน้าที่ทางการลาวเป็นผู้ก่อเหตุลักพาสมบัด สมพอน นักกิจกรรมพัฒนาของลาวผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ารัฐบาลลาวแทบไม่มีปฏิบัติการค้นหาความจริง ขณะเดียวกันการบังคับให้สาบสูญในกรณีนี้ยังทำให้เกิดการอภิปรายถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องความทะเยอทะยานของรัฐบาลลาวในการส่งเสริมเศรษฐกิจผ่านโครงการพัฒนาขณะที่กดขี่สิทธิพลเมืองในวันที่ 15 ธ.ค. 2560 จะเป็นวันครบรอบ 5 ปี นับตั้งแต่มีคนพบเจอสมบัดเป็นครั้งสุดท้ายกับครอบครัว ในวันที่ 15 ธ.ค. 2555 กล้องวงจรปิดของสถานีตำรวจที่กรุงเวียงจันทน์มีการบันทึกภาพเจ้าหน้าที่รัฐลักพาตัวสมบัดจากบนถนน มีการหยุดรถจี๊ปของเขาก่อนที่จะพาตัวเขาส่งขึ้นรถบรรทุก ซุยเม็งเอ็ง ภรรยาชาวสิงคโปร์ของสมบัดเปิดเผยว่ามีพยานพบเห็นสมบัดและรถจี๊ปของเขาในที่กักขังของตำรวจ Continue reading “ครบรอบ 5 ปี การหายตัวไปของ ‘สมบัด สมพอน’”

SSBP Speaks out for Sombath

Sombath’s vision for sustainable development aims to foster respects for nature and humanity. He advocates for mindful education and inclusive development highlighting ordinary people, especially young people who are the potential of change.
.
It has been 4 years since the last time his family heard from him. The night of December 15, 2012 became a horrid silence that continues until today. For the past 4 years, family and friends of Sombath Somphone have called the Lao government and world leaders to bring forth Sombath’s whereabouts. Sadly, our leaders have failed us. We would like to reiterate the ASEAN Parliamentarians for Human Rights’s (APHR) question “If the Lao government really wants to solve Sombath Somphone case and is as concerned as the rest of us, then why is it blocking all possible avenues for the investigation?” Continue reading “SSBP Speaks out for Sombath”

ขบวนการหนุ่มสาวลาวร้องหน้า UN ปล่อย 3 คนลาวที่ถูกจับเพราะวิจารณ์รัฐ

ประชาไทย: 31 สิงหา 2016

Prachathai-UN-2016

ขบวนการหนุ่มสาวเพื่อประชาธิปไตยแอคชั่นหน้า UN ในไทย เรียกร้องรัฐบาลลาวหยุดละเมิดสิทธิ ปล่อยตัวสามคนลาวที่ถูกจับเพราะวิพากษ์รัฐผ่านอินเทอร์เน็ต

หน้าองค์กรสหประชาชาติ (UN) ขบวนการหนุ่มสาวลาวเพื่อประชาธิปไตย จำนวน 4 คน นำโดย ตามใจ ไคยะวงศ์ (Tamchay Khayavowg) ยื่นหนังสือต่อสหประชาชาติและจัดกิจกรรมชูป้ายเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลลาวปล่อยตัวสามคนลาวที่ถูกจับเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2559 ในคดีวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลลาวบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยแผ่นป้ายมีข้อความเรียกร้องให้คืนเสรีภาพและหยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลาว “Please return to freedom” “Stop! Human Rights violations in Laos, FREE LAO” Continue reading “ขบวนการหนุ่มสาวลาวร้องหน้า UN ปล่อย 3 คนลาวที่ถูกจับเพราะวิจารณ์รัฐ”

จากเพื่อนไทยถึงเพื่อนลาว

โครงการ ไปให้ไกลกว่าสมบัด สมพอน: 15 ธันวาคม 2528

2015-12-15-SSBP-01

จากเพื่อนไทยถึงเพื่อนลาว,

พวกเราคนหนุ่มสาวลุ่มน้ำโขง รวมตัวกันทำกิจกรรมในนาม Sombath Somphone and Beyond Project มาตั้งแต่ปี 2556 หลังเหตุการณ์การบังคับให้สูญหายที่เกิดขึ้นกับลุงสมบัด สมพอน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2556 ณ กรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว จากที่เราได้ยิน ได้เห็น ได้เรียนรู้ เราพบว่า ลุงสมบัดอยากเห็นสันติภาพเกิดขึ้นในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จากการใช้ชีวิตและการทำงานที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นงานด้านการศึกษา งานพัฒนาคนสาวหนุ่มรุ่นใหม่

เราเชื่อในสันติภาพเช่นกันจึงได้ลุกขึ้นมาจัดกิจกรรมต่างๆ ตลอด 3 ปี อาทิ งานดนตรีเพื่อสันติภาพ, Tea Talks ดื่มน้ำชาตามหาสันติภาพ, กิจกรรมตามหาสมบัด Around the World, Peace Talks 2 ครั้ง ในชื่อ “เสรีภาพ สันติภาพ แตกต่างเหมือนกัน” และกิจกรรมครบรอบ 2 ปี สมบัด สมพอน “2 years I remember“ ถ้าโลกนี้ไม่มีการอุ้มหาย” ด้วยการโบกรถตามหาสันติภาพจากกรุงเทพถึงแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย และมีเวทีวิชาการในกรุงเทพ ในทุกๆ กิจกรรม พวกรามีความฝันที่จะร่วมกันสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นจริง สันติภาพที่เราทุกคนมีเสรีภาพที่จะพูด ที่จะแสดงความคิดเห็น สันติภาพที่จะปกป้องดูแลซึ่งกันและกัน สันติภาพที่รัฐและกฎหมายจะดูแลพวกเรา แม้เป็นเพียงหินก้อนเล็กๆ แต่เราก็หวังว่ามันจะกระเพื่อมสายน้ำออกไปเป็นวงกว้าง
Continue reading “จากเพื่อนไทยถึงเพื่อนลาว”

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล 49 ประเทศส่งจดหมายถึงทางลาวเร่งตรวจสอบการ บังคับบุคคลให้สูญหายกรณีนายสมบัด สมพอน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล: 15 ธันวาคม 2015

เนื่องในวันครบรอบ 3 ปีการหายตัวไปของนายสมบัด สมพอน ผู้นำภาคประชาสังคมของลาว ผู้อำนวยการสำนักงานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลใน 49 ประเทศได้ส่งจดหมายถึงทางการลาวเพื่อ ย้ำเตือนถึงความกังวลจากทุกมุมโลกต่อการหายตัวไป และการขาดการสืบสวนอย่างมีประสิทธิภาพในกรณีของนายสมบัด สมพอน

นายทองสิง ทำมะวง
นายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี
นะคอนเวียงจันทน์
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

15 ธันวาคม 2558

กราบเรียน ท่านนายกรัฐมนตรี

ครบรอบสามปีการหายตัวไปของนายสมบัด สมพอน

SB-Magsaysay
นายสมบัด สมพอน ขณะรับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชน ในปีพ.ศ. 2548

เนื่องในโอกาสครบรอบสามปีการหายตัวไปของนายสมบัด สมพอน  ทางผู้อำนวยการสำนักงานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลในประเทศต่าง ๆ ดังรายนามที่ปรากฏแนบท้าย ขอส่งจดหมายฉบับนี้เพื่อย้ำเตือนรัฐบาลภายใต้การนำของท่าน ถึงความกังวลจากทุกมุมโลกต่อการหายตัวไป และการขาดการสืบสวนอย่างมีประสิทธิภาพในกรณีของนายสมบัด สมพอน Continue reading “แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล 49 ประเทศส่งจดหมายถึงทางลาวเร่งตรวจสอบการ บังคับบุคคลให้สูญหายกรณีนายสมบัด สมพอน”

ครบรอบ 3 ปี “สมบัด สมพอน” เจ้าของรางวัลแมกไซไซ ถูกอุ้มหายไร้ร่องรอย

ข่าวสด: 15 ธันวาคม 2558

01-police-stop-jeep-talk-to-sombathเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. สำนักงานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ เนื่องในโอกาสครบรอบสามปีการหายตัวไปของนายสมบัด สมพอน เจ้าของรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชน ในปีพ.ศ.2548 โดยเป็นจดหมายจ่าถึงรัฐบาลสปป.ลาว ระบุถึงความกังวลจากทุกมุมโลกต่อการหายตัวไป และการขาดการสืบสวนอย่างมีประสิทธิภาพในกรณีของนายสมบัด สมพอน มีใจความว่า

“การหายตัวไปของนายสมบัด สมพอนเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะถึงแม้ว่ามีภาพจากกล้องวงจรปิดที่สามารถบันทึกเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการลักพาตัวนายสมบัด สมพอน ณ ด่านตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจบนถนนท่าเดื่อ อำเภอสีสัดตะนาก กรุงเวียงจันทน์ ในตอนค่ำของวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2555 จนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการสืบสวนเพื่อหาตัวและนำนายสมบัดกลับคืนสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัย”

จดหมายดังกล่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า จากการหน่วยราชการอ้างว่ามีการดำเนินการสืบสวนอยู่นั้น เป็นสิ่งที่ยากจะเชื่อถือ  เพราะกระทรวงต่างๆ ที่รับผิดชอบยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลใดๆ ที่เป็นรูปธรรมและโปร่งใสว่า ได้มีการสืบสวนอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว

“ในทางกลับกันทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและรัฐบาลลาวกลับมิได้ให้การตอบสนองอย่างเพียงพอต่อการร้องขอข้อมูล มักปฏิเสธที่จะตอบสนองใดๆ อีกทั้งยังมีความพยายามที่จะยุติ หรือหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงความกังวลของภาคประชาสังคมลาวและระดับภูมิภาคต่อการบังคับบุคคลให้สูญหายกรณีนายสมบัด สมพอน Continue reading “ครบรอบ 3 ปี “สมบัด สมพอน” เจ้าของรางวัลแมกไซไซ ถูกอุ้มหายไร้ร่องรอย”

ถ้าโลกนี้ไม่มีการอุ้มหาย: การแสดงพลังของคนรุ่นใหม่ ผ่านวาระ 2 ปีการหายตัวไปของอ้ายสมบัด

Thai PBS: 12 ธันวาคม 2557

ถ้าโลกนี้ไม่มีการอุ้มหาย: การแสดงพลังของคนรุ่นใหม่ ผ่านวาระ 2 ปีการหายตัวไปของอ้ายสมบัด

สองปีแล้ว ‘สมบัด สมพอน’ ก็ยังไม่กลับมา สมควรแก่เวลาที่คนรุ่นใหม่จะร่วมกันสร้างสังคมที่ใฝ่ฝัน, สังคมแห่งสันติภาพ?

นี่คือบทสัมภาษณ์คนรุ่นใหม่กลุ่ม Sombath Somphone and Beyond Project

12 ธันวาคม 2557, บันทึกไว้ด้วยจิตคารวะ

Continue reading “ถ้าโลกนี้ไม่มีการอุ้มหาย: การแสดงพลังของคนรุ่นใหม่ ผ่านวาระ 2 ปีการหายตัวไปของอ้ายสมบัด”

ICJ จี้รัฐบาลลาวกรณี "สมบัด สมพอน"

ไทยรัฐออนไลน์: 11 ธันวาคม 201

ICJ-FCCT-2014-12-11

แซม ซาริฟี ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือไอซีเจ แถลงรายงานข้อเสนอต่อรัฐบาลลาวในการติดตามตัวสมบัด สมพอน นักพัฒนาอาวุโสที่หายตัวไปตั้งแต่ปี2555 โดยให้รัฐบาลลาวแลกเปลี่ยนข้อมูลความคืบหน้าและผลการสืบสวนทั้งหมดกับครอบครัวของผู้สูญหาย หลังจากที่ผ่านมา รัฐบาลเพิกเฉยต่อการให้ข้อมูลกับครอบครัวของสมบัติ สมพอนมาโดยตลอด นอกจากนี้ รัฐบาลควรอนุญาตให้หน่วยงานอิสระและผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดและวัตถุที่อยู่ในเหตุการณ์บังคับหายตัวทั้งรถยนต์ โทรศัพท์มือถือของนายสมบัด รวมทั้งวัตถุอื่นๆในเหตุการณ์ด้วย และควรเปิดโอกาสให้หน่วยงานอิสระในต่างประเทศ เข้ามาร่วมตรวจสอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยไอซีเจมองว่าที่ผ่านมากระบวนการสอบสวนของรัฐบาลลาวยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

ด้านนางอังคณา นิลไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ภรรยาของทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งถูกบังคับให้หายตัวไปเมื่อเดือนมีนาคม2547 กล่าวว่ากรณีของสมบัด สมพร และทนายสมชาย สะท้อนความอ่อนแอและขาดความโปร่งใสของกระบวนการยุติธรรมในอาเซียน และยังมีนักเคลื่อนไหวในอาเซียนอีกจำนวนมากที่ถูกบังคับให้หายตัวแต่ไม่มีรายงานต่อสาธารณะ ทำให้ครอบครัวของผู้สูญหายเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้ว หลายครอบครัวยังต้องย้ายที่อยู่อาศัยหรือเปลี่ยนชื่อสกุลเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสื่อและหน่วยงานอิสระต่างๆ

ขณะที่นางมาทิลด้า บ็อกเนอร์ ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่รัฐกดดันไม่ให้นักเคลื่อนไหวคนอื่นๆในลาวอภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมบัดซึ่งถือเป็นการทำลายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันก็มีนักเคลื่อนไหวจำนวนมากในลาวยุติบทบาทการทำงานเพื่อสังคม เพราะกลัวว่าอาจเสี่ยงตกเป็นเป้าหมายเช่นเดียวกับนายสมบัด

ด้านนางอึ้ง ชุ่ยเม้ง ภรรยาของนายสมบัดกล่าวว่า ยังหวังว่าสามีจะยังมีชีวิตอยู่ ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้รัฐบาลลาวดำเนินการตามข้อเสนอของไอซีเจอย่างจริงจัง พร้อมเรียกร้องให้ประชาคมอาเซียนช่วยกันแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่ละเมิดหลักกฎหมายสากล การรวมเป็นประชาคมคือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางการแก้ปัญหาระหว่างกัน ขณะเดียวกัน จุดหมายสำคัญของประชาคมอาเซียน ก็คือการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

ขณะเดียวกันนางอึ้งชุ่ยเม้ง ก็ยังมองว่า ความกลัวและการเซ็นเซอร์ตัวเองโดยไม่แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นอ่อนไหวในสังคมลาว เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้การติดตามการสืบสวนเป็นไปอย่างยากลำบาก

สมบัด สมพอน หายตัวไปหลังจากถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายที่ป้อมตำรวจในนครเวียงจันทร์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2555 โดยภาพจากกล้องวงจรปิดชี้ว่า เขาถูกตำรวจโบกให้จอดรถข้างทาง และถูกชาย 2 คน พาตัวขึ้นรถอีกคนก่อนขับออกไป หลังจากนั้นก็ไม่พบร่องรอยอีกเลย หลายฝ่ายเชื่อว่าเขาตกเป็นเหยื่ออีกรายหนึ่งที่ถูกบังคับให้หายตัวไปโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

สืบทอดภาพฝันของสมบัด

ปาฐกถาของอึ้งชุ่ยเม้ง (Shui Meng Ng) ในงานเวทีภาคประชาชนเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 10 (Asia-Europe People’s Forum – AEPF)

มิลาน อิตาลี 10-12 ตุลาคม 2557

“มุ่งสู่รัฐในเอเชีย-ยุโรปที่เป็นธรรมและมีส่วนร่วม รัฐของพลเมืองเพื่อพลเมือง”

Shui Meng-AEPF10อึ้งชุ่ยเม้ง เวทีภาคประชาชนเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 10: เมื่อสองปีที่แล้ว ในเวทีภาคประชาชนเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 9 คุณสมบัด สมพอน สามีดิฉันเป็นประธานร่วมของคณะผู้จัดงานเวทีภาคประชาชนเอเชีย-ยุโรป เขาได้กล่าวปาฐกถาในพิธีเปิดของงานซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตอนนั้นเขาทั้งมีความสุขและตื่นเต้นเพราะหลังจากเตรียมการอย่างหนัก เวทีภาคประชาชนเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 9 จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีของประเทศลาวเป็นประธาน ผู้เข้าร่วมกว่า 1,000 คนมาจากกลุ่มและหน่วยงานภาคประชาสังคมตลอดทั่วเอเชีย-แปซิฟิก ในฐานะคนลาว สมบัดภูมิใจที่ประเทศของเขาได้เป็นเจ้าภาพจัดเวทีภาคประชาสังคมที่สำคัญครั้งนี้ ในช่วงไม่กี่วันต่อมาระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม ผู้เข้าร่วมมีโอกาสแลกเปลี่ยน โต้เถียง แบ่งปันและนำเสนอบทเรียนต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เป็นผลมาจากปัญหาท้าทายที่คล้ายคลึงกัน ปัญหาความยากจน การแบ่งขั้วทางสังคม ความไม่เท่าเทียม ภาระหนี้สิน และการว่างงาน ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของประชาชนทั่วไปทั้งในเอเชีย-ยุโรป การพูดคุยเป็นไปอย่างคึกคัก เวทีอภิปรายได้รับความสนใจอย่างยิ่ง ผู้เข้าฟังต่างมีส่วนร่วมและเสนอความเห็นอย่างสร้างสรรค์ พวกเขาต่างกระตือรือร้นที่จะเสนอแนวคิดและประสบการณ์ และต่างมุ่งทำงานเพื่อนำเสนอ “ภาพฝันของประชาชน” ที่สะท้อนถึงความหวังและความฝันร่วมกัน และต่อมามีการนำเนื้อหาส่วนหนึ่งไปจัดทำเป็นแถลงการณ์ฉบับแรกของเวทีภาคประชาชนเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 9 เพื่อเสนอต่อผู้นำประเทศต่าง ๆ ของ ASEM ให้มีการพิจารณาและนำไปปฏิบัติในการประชุม ASEM ครั้งต่อไป aepf10logoจากการประเมินของหลายท่าน และจากการยอมรับต่อสาธารณะของคณะกรรมการผู้จัดงานระหว่างประเทศ ถือว่าเวทีภาคประชาชนเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 9 เป็นเวทีภาคประชาชนที่ประสบความสำเร็จมากสุดครั้งหนึ่ง จากนั้นในวันที่ 15 ธันวาคม 2555 สองเดือนหลังจากปิดการประชุมเวทีภาคประชาชนเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 9 สมบัด สมพอนก็หายตัวไป มีผู้พบเห็นเขาครั้งสุดท้ายระหว่างถูกเรียกให้จอดรถที่ป้อมตำรวจในกรุงเวียงจันทน์ จากนั้นถูกนำตัวไปไว้ในรถกระบะสีขาว ภาพเหตุการณ์ขณะลักพาตัวสมบัดได้รับการบันทึกไว้ในกล้องวีดิโอของตำรวจจราจร และต่อมามีการนำคลิปวีดิโอการลักพาตัวดังกล่าวไปเผยแพร่ทาง You-tube Continue reading “สืบทอดภาพฝันของสมบัด”